Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 4 เม.ย. 2557

เอกสารแนบ

/data/content/23649/cms/cfnopvwx2468.jpg

          เสียงร้องไห้ของทารกเป็นสิ่งที่ทำให้พ่อแม่เกิดความกังวลว่าจะมีสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้น และพยายามที่จะเข้ามาช่วยลูกน้อย ถ้าแก้ไขสาเหตุได้ก็จะทำให้ทารกน้อยหยุดร้องได้ แต่ในกรณีที่ไม่รู้สาเหตุและลูกยังร้องอยู่จะยิ่งทำให้พ่อแม่มีความวิตกกังวลสูงขึ้น เพราะไม่รู้ว่าจะช่วยลูกอย่างไรดี

          สาเหตุของการร้องไห้

          1. หนูหิว

          2. หนูเหนื่อย เพลีย อยากนอน

          3. หนูจุก เนื่องจากกินนมเข้าไปและเรอออกไม่หมด

          4. หนูรำคาญ เช่น ผ้าอ้อมเปียก ถุงมือรัดนิ้ว

          5. หนูเจ็บปวด เช่น ปวดท้อง ปวดหูจากหูอักเสบ มดกัด

          6. หนูอ้อน อยากให้แม่อุ้ม

          7. หนูไม่ได้ดังที่ต้องการ เนื่องจากพ่อแม่ไม่เข้าใจ

          8. หนูติดเป็นนิสัย มักจะร้องในช่วงเวลาที่คาดเดาได้

          9. หนูได้รับความวิตกกังวล ถ่ายทอดมาจากผู้เลี้ยงดู

          ข้อแนะนำ

          ควรเข้าใจและศึกษาลักษณะของลูกเพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการ โดย

         1. พยายามหาสาเหตุของการร้องไห้ว่าน่าจะเกิดจากอะไร เช่น ถ้าลูกจุกให้จับเรอเอาลมออกมา ถ้าผ้าอ้อมเปียก

ให้เปลี่ยนผ้าอ้อม ถ้าร้องเพราะอ้อนอยากให้อุ้มและเล่นด้วยก็ทำในสิ่งที่ลูกต้องการ การตอบสนองความต้องการของทารกในช่วง 6 เดือน แรกของชีวิต ทำทุกอย่างเท่าที่ทารกต้องการ จะเป็นการสร้างความรู้สึกผูกพัน และสร้างให้ทารกเรียนรู้ที่จะไว้ใจแม่ เท่ากับบอกว่าแม่สามารถช่วยเหลือและแก้ไขในทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้

          มีหลายคนเข้าใจผิดว่าการอุ้มทารกบ่อยๆจะทำให้ติดมือ ทารกติดกับการอุ้ม แต่ในความเป็นจริงเมื่อสภาพร่างกายพร้อมในการคืบคลานเมื่ออายุ 7-8 เดือน ทารกทุกคนอยากคลานออกไปห่างแม่เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อมและของเล่น แต่เมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาใกล้ๆจนตกใจ หรือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้ไม่แน่ใจในสถานการณ์รอบข้าง ทารกจะคลานกลับมาหาแม่ทันที เพียงแต่ขอให้แม่อยู่ ณ จุดนั้นเสมอเมื่อเด็กต้องการ แค่นี้คุณก็จะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากเด็ก

          2. พบกุมารแพทย์เพื่อช่วยตรวจหาความผิดปรกติ เช่น หูอักเสบ ไม่สบาย

          3. สร้างบรรยากาศสบายๆ และลดความวิตกกังวลในตัวผู้เลี้ยงดู การที่มีหลายคนมาช่วยแบ่งเบาภาระของแม่ในการดูแลเด็ก รวมทั้งช่วยกันปลอบโยนเด็ก โดยการเปลี่ยนมือ เปิดเพลงเบาๆ หรือถ้าเด็กร้องอยู่นานจนเหงื่อแตกก็ให้เช็ดตัวหรืออาบน้ำให้สดชื่น หรือพักการร้องโดยให้ดูดน้ำเย็นชื่นใจแล้วให้ร้องต่อไป เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้บรรยากาศดีขึ้น แม่ก็จะมีเวลาคลายเครียดลดความกังวลลง

          4. ทำใจไปกับเสียงร้องของลูก เมื่อตรวจไม่พบความผิดปรกติก็ต้องถือว่าการร้องไห้ของลูกเท่ากับเป็นการออกกำลังกายบริหารปอด ถึงแม้ว่าลูกจะร้องไห้อยู่ 4 ชั่วโมงต่อวัน ก็ยังไม่ถือว่าผิดปรกติ

 

 

          ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข

          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

 

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/23649-‘เด็กโคลิค’%20เสียงร้องบอกอะไร.html