Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 28 เม.ย. 2557

เอกสารแนบ

/data/content/23987/cms/e_bdkmqtxyz679.jpg

ส้มตำ เป็นอาหารที่ดัดแปลงได้หลายรสชาติ ตามความต้องการของผู้รับประทาน ปัจจุบันมีส้มตำรสชาติแปลกๆมากมาย ทั้งตำหมูยอ ตำแคบหมู ตำมั่ว ตำซั่ว สองอย่างหลังนี้เป็นส้มตำที่มีการผสมผสานวัตถุดิบหลายอย่างเข้าด้วยกัน

ว่ากันว่าตำซั่วเป็นตำลาว สมัยก่อนเค้าจะนำขนมจีนและน้ำยาป่าผสมเข้ากับส้มตำ เรียกน้ำยาว่า “น้ำซั่ว” หลังๆมานี้คงเป็นการยุ่งยาก หากจะต้องใส่น้ำยาลงไปด้วย จึงเหลือแค่เส้นขนมจีนตำซั่ว เป็นอาหารเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ อี.โคไล ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ หรือปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ เช่น ผักต่างๆ ที่ล้างไม่สะอาด

หากพ่อค้า หรือแม่ค้า เข้าห้องน้ำเพื่อไปทำธุระส่วนตัวแล้วกลับออกมา ไม่ล้างมือ หรือล้างไม่สะอาดเพียงพอ เจ้าเชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปอยู่ตามซอกเล็บ หรือง่ามนิ้วมือ เมื่อจับอาหารโดยไม่ใส่ถุงมือ เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปปนเปื้อนอยู่ในอาหาร

เมื่อเราทานเข้าไปภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง จะเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน ถ่ายเหลว เป็นไข้ อาเจียน ตามขั้นตอนของการเกิดโรค จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อที่ได้รับและภูมิคุ้มกันของแต่ละคน

วิธีป้องกันง่ายๆ เริ่มต้นจากการสังเกตสุขลักษณะเบื้องต้นของคนขาย ถุงมือต้องใส่เมื่อหยิบจับอาหาร ผักสดที่นำมาประกอบอาหารต้องล้างน้ำให้สะอาด ส่วนน้ำปลาร้าต้องมั่นใจว่าผู้ขายผ่านการต้มให้สุกมาแล้ว

วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่น่าตกใจสำหรับคนชอบทานตำซั่ว เพราะผลที่ได้จากการวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้ออี.โคไล ในตำซั่ว 5 ตัวอย่าง พบว่ามีอยู่ 3 ตัวอย่างที่พบอี.โคไลเกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่กำหนดให้พบ อี.โคไล ปนเปื้อนในส้มตำได้ไม่เกิน 100 MPN/กรัม

น่าเป็นห่วงสำหรับคนไทยในหน้าร้อนระอุเช่นนี้ ที่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ

ถึงตอนนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านอาหารปลอดภัย คงต้องช่วยกันให้ความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะของบุคคลที่ปรุงอาหาร และสุขลักษณะของอาหารตามริมบาทวิถีเป็นการด่วน

 

 

ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/23987-เชื้อก่อโรคใน%20‘ตำซั่ว’.html