Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 10 มิ.ย. 2557

เอกสารแนบ

          /data/content/24600/cms/e_hiptuyz12459.jpg

          ปัจจุบัน "ภาวะน้ำหนักเกิน" กลายเป็นปัญหาน่าปวดหัวในหลายประเทศ ถึงขนาดต้องหาทางออกมาตรการควบคุมการบริโภคสินค้าบางชนิดของประชาชน ทั้งน้ำอัดลม อาหารประเภทด่วน (Fast Food) ตลอดจนขนมขบเคี้ยวต่างๆ โดยเฉพาะกับผู้บริโภคที่เป็นเด็กและเยาวชน

          สำหรับประเทศไทย นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย (ครั้งที่ 4) ระหว่างปี 2551-2552 ทำการสำรวจประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า คนไทยมีค่าดัชนีมวลเกิน (เท่ากับหรือมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ในจำนวนนี้เป็นชายร้อยละ 28.4 และหญิงร้อยละ 40.7 ทั้งนี้ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน เป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ มากมาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นต้น

          จากภาวะกลัวอ้วนข้างต้น ประกอบกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ผู้คนโดยเฉพาะชาวเมืองต้องเร่งรีบมากขึ้น เห็นได้จากหลายคน ต้องออกจากบ้านไปทำงานหรือไปเรียนแต่เช้ามืด เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการจราจรที่นับวันจะติดขัดมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อ เข้าสู่ช่วงเปิดภาคเรียน จึงพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะไม่รับประทานอาหารเช้า หรือรับประทานเพียงกาแฟเท่านั้น เพื่อทำให้รู้สึกว่าท้องไม่หิว

          อธิบดีกรมอนามัยกล่าวถึงความสำคัญของอาหาร มื้อเช้า โดยปกติแล้ว คนเราจะท้องว่างเป็นเวลาเฉลี่ยราว 12 ชั่วโมง ตลอดช่วงหลังมื้อเย็นถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ดังนั้นหากไม่รับประทานมื้อเช้า จะทำให้ระบบเผาผลาญเริ่มต้นช้าลง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกหิวจัด ทำให้การบริโภคในมื้อถัดไปเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว อันเป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้ และยังเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดสมอง เบาหวานและโรคหัวใจอีกด้วย เพราะในตอนเช้าเลือดจะมีความเข้มข้นสูง ทำให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจอุดตันได้

          แต่หากรับประทานมื้อเช้าให้เรียบร้อยทุกวัน จะช่วยลด ระดับความเข้มข้นในเลือดเจือจางลง ซึ่งพบว่าผู้ที่รับ/data/content/24600/cms/e_dijklmnotv28.jpgประทานอาหารเช้าทุกวัน ความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน สาเหตุของโรคเบาหวานจะลดลงถึงร้อยละ 35-50 นอกจากนี้ ยังป้องกันการเกิดโรคนิ่วได้อีกด้วย เนื่องจากการไม่รับประทาน อาหารนานกว่า 14 ชั่วโมง จะทำให้คอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีจับตัวกัน หากปล่อยนานๆ ไป ก็จะกลายเป็นก้อนนิ่วได้ ซึ่งการรับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ ตับจะปล่อยน้ำดีออกมาละลายไม่ให้คอเลสเตอรอลจับตัวกัน

          ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า อาหารเช้ายังมีผลต่อการทำงานของ สมองอีกด้วย โดยผู้ที่ขาดอาหารมื้อเช้า ระดับน้ำตาล ในเลือดจะต่ำ ทำให้เริ่มหิวตั้งแต่ช่วงสายๆ ของวัน ตามมาด้วยอารมณ์หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ อันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนหรือทำงาน นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายอยาก รับประทานขนมขบเคี้ยว ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จนเกิดเป็นภาวะโรคอ้วนอีกด้วย

          "สำหรับประชาชนที่รับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อนั้น ส่วนใหญ่มักจะงดมื้อเช้าด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ต้องตื่นแต่เช้าเร่งรีบไปเรียนหรือทำงาน ไม่มีเวลาพอสำหรับการเตรียมอาหารเช้า หรือบางคนงดอาหารเช้าเพราะต้องการลดน้ำหนัก เหตุผลนี้พบมากในวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดและเกิดผลเสียตามมา

           เนื่องจากการงดกินอาหารเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ช่วงสายของวันจะรู้สึกหิว มีอารมณ์หงุดหงิด สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือทำงาน เกิดการผิดพลาดได้มากกว่า และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือ การทำงานจะด้อยกว่าคนที่กินอาหารเช้า เนื่องจากสมองต้องการ น้ำตาลกลูโคสหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และจะหันมารับประทานอาหารอื่น เช่น ขนมประเภทกินจุบกินจิบแทนการรับประทานอาหารเช้า ส่งผลให้อ้วนขึ้นหรือน้ำหนักตัวเพิ่ม/data/content/24600/cms/e_cdeimpqvw134.jpgง่ายขึ้น"

           ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้ความเห็น ขณะที่อธิบดีกรมอนามัยกล่าวเสริมว่า สำหรับอาหารเช้าแบบสำเร็จรูป (Serial) ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ไม่ควรรับประทานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากจะได้สารอาหารประเภทแป้งเท่านั้น ซึ่งไม่ครบหมู่ตามที่ร่างกายต้องการ

           "ในการรับประทานอาหารเช้านั้น ไม่ควรทานอาหารประเภทข้าวแป้ง ที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว สำหรับอาหารประเภทซีเรียลต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน จะมีแป้งเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ ขอแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานเพียงอย่างเดียว ควรรับประทาน คู่กับนม และเพิ่มไข่ ซึ่งเป็นอาหารเช้าที่ดีที่สุด และเสริมด้วยสลัดผักและผลไม้ด้วย ก็จะได้สารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย" นพ.พรเทพ ฝากทิ้งท้าย

 

 

            ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/24600-ขาดอาหารเช้า%20'สมองล้า-โรคภัยรุม'.html