Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 12 มิ.ย. 2557

เอกสารแนบ

/data/content/24636/cms/e_ackqrsuwz168.jpg

          การรักษาผู้ที่มีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีด้วยกันหลายวิธี และหนึ่งในนั้นคือการใช้เครื่อง CPAP ซึ่งเป็นเครื่องอัดอากาศ ขณะหายใจเข้าจะเป่าลมเข้าไปถ่างทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างออก ทำให้ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ

          รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา รพ.ศิริราช กล่าวว่า การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนมีตั้งแต่การควบคุมน้ำหนักออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือทางทันตกรรมและสุดท้ายคือการผ่าตัด

          ในกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แล้วยังไม่ได้ผลการรักษาในลำดับต่อมาคือ การใช้เครื่องมือเช่นเครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้าและเครื่องมือทางทันตกรรม ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้กับผู้ป่วย

          ปกติผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนเวลานอนเพดานอ่อนและลิ้นไก่ที่ยาว รวมถึงโคนลิ้นที่โตมักจะตกลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบเครื่อง CPAP (continuous positive airway pressure) ซึ่งเป็นเครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้าจะเป่าลมเข้าไปถ่างทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างออกทำให้ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับซึ่งการใช้เครื่อง CPAP ควรใช้ทุกคืนในช่วงแรกอาจรู้สึกอึดอัดบ้างเพราะต้องใส่ๆ ถอดๆ แต่เมื่อชินก็จะใส่ได้เอง ควรใช้ต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นจะมีอาการกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับอีก

/data/content/24636/cms/e_cdglmorvwx69.jpg

          นอกจากเครื่อง CPAP แล้ว ยังมีเครื่องมือทางทันตกรรมที่ใช้รักษาโดยใส่เครื่องมือไว้ในปากเวลานอน เมื่อผู้ป่วยนอนหงายขากรรไกรล่าง และลิ้นจะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนแคบเครื่องมือนี้จะช่วยยึดขากรรไกรบนและเลื่อนขากรรไกรล่างมาทางด้านหน้าทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้นในขณะหลับ

       การรักษาผู้ป่วยนอนกรนหรือมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับด้วยเครื่องทั้ง 2 ชนิดนี้ จะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีของผู้ป่วย

       เครื่องมือเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยนอนกรนเพื่อบรรเทาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับควรออกกำลังกายที่ทำให้ หัวใจเต้นเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น วิ่งเดินเร็วว่ายน้ำขี่จักรยานฝืดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที จะช่วยเพิ่มความตึงตัวให้กับกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยไม่ให้หย่อนลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจ

 

          ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/24636-"นอนกรน"%20รักษาได้%20.html