Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ธนิกุล ศรีอุทิศ 24 ส.ค. 2554

 

แผนป้องกันและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย

โรงพยาบาลอ่างทอง

ณ วันที่ ๑ สิงหาคม  ๒๕๕๔

............................................

 

๑. มาตรการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์และเมื่อเกิดอุทกภัย

๑.๑ จัดตั้งศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณศูนย์ประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการอำนวยการด้านสาธารณสุข พร้อมรับสถานการณ์ของโรงพยาบาลอ่างทอง ดังนี้

          ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอ่างทอง                                         ผู้อำนวยการศูนย์

          รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านตติยภูมิ                                  กรรมการ

          รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านอำนวยการ                              กรรมการ

          รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิและทุติยภูมิ             กรรมการ

          รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพ            กรรมการ

          รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล                            กรรมการ

          หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป                                               กรรมการและเลขานุการ

          หัวหน้าศูนย์ซ่อมบำรุง                                                       กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

โดยมีหน้าที่

๑.      ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

๒.      วางแผนป้องกันสถานที่สำคัญในโรงพยาบาล ได้แก่ ซักฟอก คลินิกเพื่อสุขภาพ งานกายอุปกรณ์ ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ห้องเก็บศพและบ้านพักอาศัย เป็นต้น

๓.      วางแผนสำรองทรัพยากรที่จำเป็น ได้แก่ ออกซิเจนเหลว เชื้อเพลิง ยาและเวชภัณฑ์ น้ำดื่ม อาหารและวัตถุดิบ เป็นต้น

๔.      วางแผนในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่สำคัญ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วย

๕.      วางแผนในการปรับระบบริการตามสถานการณ์

๖.      วางแผนในการบริการเชิงรุก

๗.      สำรวจความเสียหาย ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหาย รวบรวมสรุปงบประมาณเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

 

แผนปฏิบัติการเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย

โรงพยาบาลอ่างทอง ประจำปี ๒๕๕๔

๑.      แผนป้องกันอุทกภัย

 

แผนอุทกภัย ๑

การดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่

๘.๐๐ เมตร

- ประสาน ติดตามระดับน้ำและนำเสนอทุกวัน

- ประกาศเตือน / หนังสือเวียน

- เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือ

        - เรือ และเครื่องสูบน้ำ

        - ถุงดำและถุงแดงใส่ขยะและสิ่งปฏิกูล

        - คลอรีนและสารส้ม

        - ยาและเวชภัณฑ์

 

- ศูนย์ประชาสัมพันธ์

- ศูนย์ประชาสัมพันธ์

- ฝ่ายบริหารทั่วไป

- ฝ่ายบริหารทั่วไป

- ฝ่ายพัสดุ

- กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

- กลุ่มงานเภสัชกรรม

 

แผนอุทกภัย ๒

การดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่

๘.๐๐ เมตร

- ประสาน ติดตามระดับน้ำและนำเสนอทุกวัน

- เตรียมเคลื่อนย้ายอุปกรณ์สำคัญไว้ในที่สูง

- ออกซิเจนสำรอง

- จัดเตรียมหน่วยเคลื่อนที่

 

- ศูนย์ประชาสัมพันธ์

- แต่ละหน่วยงานที่มีความเสี่ยง

- หอผู้ป่วยพิเศษศัลยกรรมกระดูก

- กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

 

แผนอุทกภัย ๓ (ระดับวิกฤติ)

การดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่

๘.๕๐-๙.๐๐ เมตร (เสมอสันเขื่อน)

- จัดเวรยามเฝ้าระวังอุทกภัย ตลอด ๒๔ ชม.

- ติดตาม ตรวจสอบระดับน้ำ

- ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดที่กำหนด ๓ จุด

- ก่ออิฐฉาบปูนกั้นน้ำในสถานที่ลุ่มเสี่ยง

- ประสานโรงพยาบาลเครือข่ายในการส่งต่อผู้ป่วย

- งดรับผู้ป่วยในที่สามารถรอได้ และงดนัดผ่าตัด

  ผู้ป่วยที่สามารถรอได้

- จัดหน่วยเคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจรักษาแก่ผู้ป่วย

  ในพื้นที่น้ำท่วม หรือจ่ายยาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

- ฝ่ายบริหารทั่วไป          

- ศูนย์ประชาสัมพันธ์   

- งานซ่อมบำรุง

- งานซ่อมบำรุง

- ศูนย์รับ-ส่งต่อผู้ป่วย

- องค์กรแพทย์

 

- กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

แผนอุทกภัย ๔ (เกิดอุทกภัย)

การดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

น้ำเริ่มล้นและไหลเข้าสู่พื้นที่ลุ่มในโรงพยาบาล

- รายงานจังหวัด และส่วนกลาง

- ประกาศภาวะฉุกเฉิน “อุทกภัย”ในโรงพยาบาล

- ตัดกระแสไฟฟ้าในจุดที่น้ำท่วมถึง

- เตรียมจัดสร้างสะพานไม้เชื่อมทางเข้าออกใน

  โรงพยาบาล

- ประสานขอรถรับ-ส่งผู้ป่วยจากโรงพยาบาลใน

  เครือข่าย

- เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายตาม

  ความสมัครใจหรือตามพยาธิสภาพของผู้ป่วย

- งดรับผู้ป่วยในทุกประเภท

- รับให้บริการตรวจรักษาเฉพาะผู้ป่วยนอกทุกคลินิค

- จัดทีมแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมต่างๆไป

  ให้บริการแก่ผู้ป่วยที่นัด หรือฉุกเฉินในโรงพยาบาล

  เครือข่ายที่มีศักยภาพ

- จัดหน่วยเคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจรักษาแก่ผู้ป่วย

  ๔ มุมเมืองและในพื้นที่น้ำท่วม หรือจ่ายยาผู้ป่วย

  โรคเรื้อรัง

- จัดทีมออกบริการช่วยเหลือประชาชนในการบริโภค

  อาหาร น้ำดื่มน้ำใช้  การขับถ่าย การกำจัดขยะมูล

  ฝอยและสิ่งปฏิกูล

- จัดระบบการกำจัดขยะมูลฝอยทั่วไป และขยะติด

  เชื้อในโรงพยาบาลใหม่ตามสถานการณ์

- ฝ่ายบริหารทั่วไป           

- ศูนย์ประชาสัมพันธ์   

- งานซ่อมบำรุง

- งานซ่อมบำรุง

- ศูนย์รับ-ส่งต่อผู้ป่วย

- ศูนย์รับ-ส่งต่อผู้ป่วย

 

- องค์กรแพทย์

 

- องค์กรแพทย์

- องค์กรแพทย์

- องค์กรแพทย์

 

 

- กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

 

 

- กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

 

 

- กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

 

๒. แผนป้องกันสถานที่สำคัญ  โดยฝ่ายบริหารทั่วไป

 

ระบุจุดสำคัญ

ตั้งแนวป้องกันและเครื่องสูบน้ำบริเวณจุดสำคัญ

หมายเหตุ

๑. ประปาและระบบบำบัดน้ำเสีย

- วางแนวแท่งคอนกรีต(Barier)บริเวณด้านนอกข้าง

  ระบบบำบัดน้ำเสีย

- จัดเตรียมเรือพาย จำนวน

  ๑๕ ลำ

๒. ห้องเก็บศพ

- จัดทำคันดินปิดกั้นจากแนวแท่งคอนกรีตบริเวณด้าน

  นอกข้างระบบบำบัดน้ำเสียถึงถนนสายอ่างทอง-ป่าโมก

- จัดเตรียมเรือเครื่อง

  จำนวน  ๒ ลำ

๓. งานกายอุปกรณ์

- ย้ายไปที่ห้องสมุดเดิม

 

๔. ห้อง X-Ray

 - เสริมกระสอบทรายบริเวณหน้าห้องX-Ray และติดตั้ง

   เครื่องสูบน้ำเสริม

 

๕. คลินิกเพื่อสุขภาพ

 - ย้ายไปที่คลินิกหู ตา คอ จมูกเดิม

 

๖. ซักฟอก

 - ย้ายผ้าและอุปกรณ์ที่จำเป็นไปที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม

   หญิงเดิม

 

๗. บ้านพักอาศัย

 - ขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ไปไว้ในที่สูงและติดตั้งเครื่อง

   สูบน้ำบริเวณข้างบ้านผู้อำนวยการ

 

๘. หม้อแปลงไฟฟ้า ๒ จุด

 - ก่ออิฐฉาบปูนปิดกั้นโดยรอบหม้อแปลงไฟฟ้า

 

         

๓. แผนสำรองทรัพยากร

                   ๓.๑ ออกซิเจนสามารถสำรองออกซิเจนเหลว ขนาด ๓,๕๐๐ ลิตร สำหรับใช้งานได้ ๕ วัน/ครั้ง โดยหอผู้ป่วยพิเศษศัลยกรรมกระดูกและข้อ รวมถึงออกซิเจนแทงค์ตามหน่วยงานบริการ ๗๒ ถัง ให้ใช้งานได้ ๕ วัน/ครั้ง

          ๓.๒ เชื้อเพลิงสำรองแก๊ส LPG สำหรับใช้ในโรงครัว งานซักฟอกและงานจ่ายกลาง ใช้งานได้ ๑ เดือน

          ๓.๓  ระบบสำรองไฟฟ้าฉุกเฉินมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งหมด ๕ เครื่อง (ขนาด ๖๐๐ KVA. ๑ เครื่อง ๔๐๐ KVA. ๒ เครื่อง ๓๗๕ KVA. ๑ เครื่อง ๑๐๐ KVA. ๑ เครื่อง) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในที่สูง เมื่อระบบไฟฟ้านอกขัดข้องระบบไฟฟ้าสำรองในโรงพยาบาลสามารถเปิดระบบในเวลา ๓ วินาทีและจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองให้ได้ภายใน ๕ วินาที

                    ๓.๔ ระบบน้ำประปา โรงพยาบาลผลิตน้ำประปาใช้ภายในโรงพยาบาลโดยมีระบบน้ำประปาสำรอง จำนวน ๑,๓๒๐ ลบ.ม. ใช้ได้ ๔ วัน ดังนี้

          - ระบบประปา             ๑๖๐ ลบ.ม.            - อาคารรวมใจ               ๑๖๐ ลบ.ม.

          - อาคารรัฐประชา         ๑๖๐ ลบ.ม.             - อาคารอำนวยการใหม่       ๓๑๐ ลบ.ม.

          - อาคารเฉลิมพระเกียรติ  ๒๒๐ ลบ.ม.             - อาคารผู้ป่วย ๑๔๔ เตียง     ๓๑๐ ลบ.ม.

หากระบบประปาภายในโรงพยาบาลประสบปัญหาผลิตน้ำไม่ได้ สามารถเปิดน้ำประปาจากประปาส่วนภูมิภาคเข้ามาใช้บริการได้โดยตรง

                   ๓.๕ ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถทำการบำบัดน้ำเสียได้ต่อเนื่อง จนกระทั่งประสบอุทกภัยและน้ำเข้ามาท่วมภายในโรงพยาบาลและมีระดับน้ำสูงจากพื้นถึง ๕๐ ซม. ระบบต้องปิดทำการบำบัด เนื่องจากน้ำจะไหลท่วมเข้าระบบแนวท่อน้ำทิ้งตามอาคารต่าง

๓.๖ สำรองยาและเวชภัณฑ์ โดยกลุ่มงานเภสัชกรรม

      รายการยาสำรองน้ำท่วม

 

๑. Norflox ๔๐๐ mg.                                 ๓๐ X    ๔๐๐ tab.

๒. Norflox ๑๐๐ mg.                                            ๑๕๐ tab.

๓. Dicloxa ๒๕๐ mg.                                   ๒ X    ๕๐๐ cap.

๔. Immodium                                        ๑๐ X ๑,๐๐๐ cap.

                   ๕. Clotrimazole Cream ๕ gm.                              ๒,๐๐๐ หลอด

                   ๖. ๐.๑% TA Cream ๕ gm.                                     ๕๐๐ หลอด

                   ๗. Choram ed.                                                 ๑,๕๐๐ ขวด

                   ๘. Para๕๐๐ mg.                                   ๑๒๐ X     ๕๐๐ tab.     

                   ๙. Para Syr. ขนาด ๖๐ mg.                       ๑๒๐ X     ๕๐๐ ml.

                  ๑๐. CPM tab.                                         ๑๒๐ X     ๕๐๐ tab.

                  ๑๑. CPM Syr.                                         ๕๐๐ X       ๖๐ ml.

                  ๑๒. Roxitho tab.                                    ๑๐๐ X     ๑๐๐ tab.

                  ๑๓. Amoxy ๕๐๐ mg.                              ๑๒๐ X     ๕๐๐ tab.

                  ๑๔. Amoxy ๒๕๐ mg. Syr.                            ๒๕๐ X       ๖๐ ml.

                  ๑๕. Amoxy ๑๒๕ mg. Syr.                          ๕๐๐ X       ๖๐ ml.

                  ๑๖. Atarax tab.                                        ๑๒  X  ๑,๐๐๐ tab. 

                  ๑๗. ORS กล่องๆละ ๕๐ ซอง                                       ๒๐๐ ซอง

                  ๑๘. Povidine Solution ขนาด ๓๐ ml.                          ๒๐๐ ขวด

                  ๑๙. เซรุ่มงูเขียวหางไหม้                                               ๒๐ Vial

                  ๒๐. เซรุ่มงูเห่า                                                         ๒๐ Vial

                  ๒๑. เซรุ่มงูแมวเซา                                                              ๑๐ Vial

                  ๒๒. ยากลากเกลื้อน ๕  X ๑๕ g.                                      ๒๐๐ หลอด

 

๔. แผนเคลื่อนย้ายและส่งต่อ

แผนการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์สำคัญ และผู้ป่วย

 

หน่วยงาน

สถานที่เคลื่อนย้าย

ผู้รับผิดชอบ

๑. ห้องกายภาพบำบัด

ชั้น ๒ ห้องสมุดเดิม

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

๒. งานX-Ray Mobile

ชั้น ๑ ER.ใหม่

หัวหน้างาน X-Ray

๓. คลินิคเพื่อสุขภาพ

ชั้น ๒ คลินิก หู ตา คอ จมูกเดิม

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

๔. งานซักฟอก

ชั้น ๒ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงเดิม

งานซักฟอก

๕. คลินิคแพทย์แผนไทย

ชั้น ๒ คลินิกทันตกรรมเดิม     

หัวหน้าคลินิกแพทย์ แผนไทย

๖. กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม

ชั้น ๒ ฝ่ายบริหารทั่วไปเดิม

หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม

๗. งานกายอุปกรณ์

ชั้น ๒ ห้องประชุมเทศชูกลิ่น

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

๘. รถพยาบาลฉุกเฉิน

ริมถนนอ่างทอง-ป่าโมก

หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

๙. เครื่องมืออื่นๆที่ย้ายได้

ชั้น ๒ ห้องประชุมเทศชูกลิ่น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

แผนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย

๑.      รับส่งต่อเฉพาะผู้ป่วยนอกจากโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง

๒.      ส่งต่อผู้ป่วยในของโรงพยาบาลอ่างทอง ไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายในและนอกจังหวัด เช่น รพท.ลพบุรีและรพศ.สระบุรี

 

๕. แผนการปรับระบบบริการ

          ๕.๑ จัดทำสะพานทางเชื่อม จากด้านหน้าถนนสายอ่างทอง-ป่าโมก เข้ามาเชื่อมกับ OPD.ใหม่

          ๕.๒ เปิดตรวจผู้ป่วยนอกทุกแผนก ที่ชั้น ๒,๓ อาคารอำนวยการและ OPD ใหม่

           ๕.๓ เปิดบริการฉุกเฉิน ที่ชั้น ๑ อาคารอำนวยการและ OPD ใหม่

          ๕.๔ ห้องจ่ายยาในและยานอก เปิดบริการ ๒๔ ชั่วโมง ที่ชั้น ๒ อาคารอำนวยการและ OPD ใหม่

          ๕.๕ ผู้ป่วยนัดผ่าตัดที่รอได้ ให้เลื่อนนัดออกไป ๒-๓ สัปดาห์

         

๖. แผนบริการเชิงรุก  โดยกลุ่มงานเวชกรรมสังคม

          ๖.๑ เปิดให้บริการตรวจรักษาเชิงรุก นอกโรงพยาบาล ๔ จุด คือ

                   - จุดที่ ๑  โรงพยาบาลอ่างทอง ๒    

                   - จุดที่ ๒  โรงพยาบาลอ่างทอง ๓ 

                    -  จุดที่ ๓  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอิฐ

          -  จุดที่ ๔  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาแดง

          ๖.๒ ให้บริการตรวจรักษาเชิงรุกในพื้นที่ประสบอุทกภัย ๔ จุด คือ

                   - จุดที่ ๑ ชุมชนบ้านรอ            

                   - จุดที่ ๒ ชุมชนวัดอ่างทอง

                     - จุดที่ ๓ ชุมชนบางแก้ว ๑

                   - จุดที่ ๔ ชุมชนบางแก้ว ๒

          ๖.๓ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จัดเจ้าหน้าที่ไปตรวจเยี่ยมและจ่ายยาที่บ้าน

                   ๖.๓.๑ คณะปฏิบัติงานรับสถานการณ์อุทกภัย อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ปี ๒๕๕๔ จำนวน ๓ ทีม ประกอบด้วย

          ทีมที่ ๑

                   ๑. น.ส.สมบัติ      น้ำดอกไม้         พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ    หัวหน้าทีม

                   ๒. นางธิดาพร      ศิลประเสริฐ      พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ     

                   ๓. นางรสมาลิน    แก้วประไพ       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

                    ๔. นางชมพูนุท     ประทุมวัน        พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

                     ๕. ดร.รังสรรค์      สุบงกฎ           นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ทีมที่ ๒

                   ๑. นางผการัตน์    ศรีเจริญธรรม     พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ           หัวหน้าทีม

                   ๒. นางสมบัติ       น้ำดอกไม้         พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

                   ๓. น.ส.ลักษวดี     ชุตาภา            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

                   ๔. นางอัญชลี       ตรีสุคนธ์          พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

                     ๕. ดร.รังสรรค์      สุบงกฎ            นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

          ที่มที่ ๓

                   ๑. นางรัชชา        มีศิลป์            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ            หัวหน้าทีม

                   ๒. นางอารมณ์     เอี่ยมสุนทร       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

                   ๓. นายสวงค์       พินวงศ์            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

                      ๔. นางรัตนา      งิ้ววิจิตร           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

                      ๕. ดร.รังสรรค์    สุบงกฎ            นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

                  

ทั้ง ๓ ทีมให้มีหน้าที่

          เมื่อเกิดอุทกภัย

๑.      ออกปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน โดยแจกเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งทางบกและทางน้ำ ในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง  โดยจัดเจ้าหน้าที่สลับปรับเปลี่ยนในการออกปฏิบัติงานตามความเหมาะสม

๒.      จัดตั้งหน่วยบริการสาธารณสุขชั่วคราวตามจุดอพยพ เพื่อให้บริการด้านสาธารณสุขต่างๆแก่ประชาชนตามความเหมาะสม

๓.      รายงานสถานการณ์อุทกภัย ให้คณะอำนวยการทราบเป็นระยะตามสถานการณ์และความเหมาะสมและรายงานผลการดำเนินงานในแต่ละวันให้คณะอำนวยการทราบจนกว่าเหตุการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

๔.      ติดตามขอความช่วยเหลือเพื่อรับการสนับสนุนจากคณะอำนวยการ เมื่อสถานการณ์อุทกภัยรุนแรงเกินขีดความสามารถ

ภายหลังการเกิดอุทกภัย

๑.      จัดหน่วยออกสำรวจท้องที่ ที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากอุทกภัยและรายงานคณะอำนวยการ

๒.      จัดเตรียมหาน้ำสะอาดบริการประชาชน โดยจัดเตรียมวัสดุ เคมีภัณฑ์ในการฆ่าเชื้อโรค

๓.      เฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคระบาด โดย

-          สำรวจและใช้สารเคมีทำลายเชื้อโรค กำจัดสัตว์และแมลงนำโรค

-          กำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล ที่อาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค

-          ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและระมัดระวังป้องกันโรคติดต่อหลังน้ำลด

๔.      การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพจิต

-          จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการรักษาพยาบาลแจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นแก่ประชาชน พร้อมทั้งฟื้นฟูสภาพจิตใจแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย

-          จัดสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ประสบภัย เปิดให้บริการทั้งในและนอกเวลาราชการ

 

๒. มาตรการดำเนินการหลังน้ำลด

          ๑. ให้การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพจิต โดยการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในเขตรับผิดชอบ

          ๒. เฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคระบาด โดยการทำลายแหล่งเชื้อโรค และให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนระมัดระวังป้องกันโรคติดต่อภายหลังน้ำลด

          ๓. สำรวจความเสียหาย และรวบรวมเสนอระดับสูงขึ้นไป เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ