Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ธนิกุล ศรีอุทิศ 14 ม.ค. 2557

เอกสารแนบ

เมื่อเด็กไทยเป็นโรคขาดสารอาหารกันมากขึ้น พ่อแม่จึงควรต้องมีการดูแลในเรื่องการรับประทานของเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะขนมในอดีตจะมีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน แตกต่างกับขนมในปัจจุบันที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลเป็นหลัก 

 

 

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันเด็กไทยเป็นโรคขาดสารอาหารกันมากขึ้น จึงขอแนะนำวิธีการดูแลในเรื่องของโภชนาการสำหรับเด็กซึ่งผู้ปกครองต้องเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารโดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวที่ได้รับมาจากหน่วยงานต่างๆ พ่อแม่จึงต้องมีการดูแลในเรื่องการรับประทานของเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะขนมในอดีตจะมีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน แตกต่างกับขนมในปัจจุบันที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลเป็นหลัก เมื่อกินเข้าไป จะส่งผลเสียต่อระบบโภชนาการของร่างกาย ทำให้เด็กที่บริโภคขนมมากเกินไปขาดสารอาหารที่จำเป็น ต่อการพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญา

ทั้งนี้ หากกินขนมและอาหารหลัก 3 มื้อในปริมาณมาก จะทำให้เด็กอ้วน ในทางกลับกันการกินขนมมากแต่กินอาหารหลัก 3 มื้อน้อยจะทำให้เด็กผอม รวมทั้งอาจขาดวิตามิน เกลือแร่ ทำให้ซีด เลือดจาง หรือเกิดภาวะขาดสารอาหาร โดยความหวานทำให้อิ่มและกินอาหารมื้อหลักได้น้อยลง นอกจากส่งผลเสียต่อร่างกายแล้ว อาจส่งผลเสียทางด้านจิตใจ เด็กมักจะมีความก้าวร้าวและมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ ถ้าเป็นเด็กที่มีการกินอาหารและฝึกวินัยในการกินที่ดีมักจะเป็นเด็กที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นหลักการเลือกขนมให้เด็กอย่างถูกวิธี คือการเลือกขนมที่มี พลังงานน้อย

สำหรับขนมกรุบกรอบหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีซองเครื่องปรุงอยู่ จะมีโซเดียมในปริมาณมากเกินไป ทำให้ไตต้องทำงานหนักจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว นอกจากนี้การใส่ใจในการเลือกซื้อขนมให้แก่เด็กก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกขนมที่มีสีธรรมชาติ เด็กอายุต่ำกว่า  5 ขวบ ไม่ควรให้กินขนมประเภทลูกอม ลูกกวาด เพราะอาจเป็นอันตราย เด็กอาจจะกลืนทำให้ติดหลอดคอ ไม่ควรเลือกซื้อขนมที่มีน้ำตาลสูงให้เด็ก ไม่ควรซื้อขนมเก็บไว้ในบ้าน  เป็นจำนวนมากเพราะจะทำให้เด็กรับประทานมากจนเกินไป และควรปลูกฝังให้เด็กรับประทานผลไม้แทนขนมหวานและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคู่กับการออกกำลังกาย เพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กไทยในอนาคต

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า 

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/situations/38427