Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ธนิกุล ศรีอุทิศ 24 ต.ค. 2556

เอกสารแนบ

 

“การออกกำลังกาย” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน นอกจากเป็นการสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้แข็งแรงแล้ว ยังสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับกระดูกได้อีกด้วย

 การออกกำลังกายที่ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันโรคกระดูกพรุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก คือ การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก โดยเฉพาะการลงน้ำหนักต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งชนิดของการออกกำลังกายและระดับความหนักเบาในการกระแทกหรือการลงน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับช่วงวัยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

2.การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพราะกระดูกและกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์กัน กล้ามเนื้อจะทำหน้าที่ช่วยพยุงกระดูกส่วนต่างๆ รวมถึงการทรงตัวของร่างกาย และถึงแม้กระดูกจะแข็งแรง หากถูกกระแทกจากการหกล้มบ่อยๆ ก็ส่งผลเสียกับกระดูกเช่นเดียวกัน

 “เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรงในระยะยาว การดื่มนมเป็นประจำทุกวัน เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีสูงควบคู่กับการออกกำลังกายที่ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสร้างพฤติกรรมเสริมสุขภาพที่ดีให้กับตัวเองด้วยการ ลด ละ เลี่ยง พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายทำลายกระดูก เช่น ลดหรือเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินซ้ำๆ ไม่หลากหลาย หรือแม้แต่การใส่รองเท้าส้นสูง การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว และควรให้ร่างกายได้รับแสงแดดในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดี”

 

 

 

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/37175