Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ธนิกุล ศรีอุทิศ 31 ต.ค. 2556

เอกสารแนบ

 

รสเผ็ดจากพริกหรือเครื่องเทศที่ใช้ นอกจากจะเสริมให้อร่อยลิ้นแล้ว ถ้ารับประทานรสเผ็ดที่เหมาะสมย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพได้ แต่การกินเผ็ดแบบไม่รู้เหนือรู้เวลาจะนำความเดือดร้อนมาให้ได้ เช่น กินเผ็ดจนเป็นโรคกระเพาะ หรือกินเผ็ดจัดในขณะท้องว่าง ส่วนผู้ที่กินเผ็ดอย่างเข้าใจนั้น นอกจากจะได้เรื่องความอร่อยลิ้นแล้ว ยังได้อานิสงส์จากความเผ็ดในแง่สุขภาพอีกหลายข้อ

พริก ช่วยป้องกันหัวใจ ด้วยวิตามินสำคัญ คือ วิตามินเอ, วิตามินซี, แคลเซียม และธาตุเหล็กมีมากในพริกสดและพริกแห้ง ถ้าห่วงเรื่องการเผ็ดมากให้ไปรับประทานพริกไทยหรือพริกหวานที่ใส่ในสลัดก็ยังได้

รสเผ็ดช่วยขยายหลอดลม มีเคมีที่ช่วยขับเสมหะและเปิดคอให้โล่งขึ้น ในคนที่เป็นภูมิแพ้ การกินเผ็ดจะช่วยได้ดีมาก หากเป็นเด็กอาจเพียงแค่พริกไทยหรือใช้หัวหอมที่เผ็ดน้อย ทั้งยังช่วยไล่เซลล์มะเร็ง แค่พริกป่นง่ายๆ อย่างนี้ก็ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย และมะเร็งผิวหนังกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย เพราะพริกช่วยล้างพิษ (Detox) ให้กับร่างกาย

นอกจากนี้ความเผ็ดของพริกช่วยลดไขมัน ป้องกันลิ่มเลือดจับตัว และช่วยคุมน้ำหนัก เพราะทำหน้าที่เผาผลาญพลังงานให้ด้วย

ทั้งนี้ จากการศึกษาในอินเดียพบว่า อาสาสมัครที่รับประทานพริกนั้นให้ผลในการลดลิ่มเลือดอุดตันตามหลอดเลือดได้ อีกทั้งปลอดภัยจากสารพิษตกค้างไม่เหมือนกับการกินยาด้วย แล้วยังสามารถลดปวดด้วยกรดเผ็ด ที่เรียกว่า "แคปไซซิน" ในพริก รวมถึงสาร "เคอคิวมิน" ในเครื่องเทศอย่างขมิ้นที่ช่วยลดการอักเสบได้

พริกจึงเหมาะกับผู้มีอาการปวดไปจนถึงแสบร้อนจากการอักเสบตามที่ต่างๆ อาทิ โรคเริม, งูสวัด ไปจนถึงปวดอักเสบตามข้ออย่างรูมาตอยด์, ข้อเสื่อม และอาการปวดฟกช้ำทั้งหลาย

พริกเป็นอาหารคลายเครียดที่แท้จริงเพราะสร้าง "เอ็นโดรฟิน" เป็นเคมีสุขที่ทำให้สดชื่นมีชีวิตชีวาหลั่งออกมาภายหลังจากกินเผ็ดไปไม่นาน

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/37301