Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 27 มี.ค. 2557

เอกสารแนบ

ในคนไข้ปวดศีรษะที่ไม่ได้มีรอยโรคในสมองหรือในเยื่อหุ้มสมองเลย พบได้ประมาณ 80% ของคนไข้ปวดศีรษะทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มีอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ หลังจากที่แพทย์ซักประวัติและวินิจฉัยแล้ว จะแนะนำให้คนไข้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ผ่อนคลายขึ้น  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และอาจพิจารณาให้ยาแก้ปวดในรายที่จำเป็น  เช่น คนไข้ปวดศีรษะไมเกรน

 

/data/content/23601/cms/chkmpsyz1567.jpg

          สิ่งสำคัญสำหรับคนไข้กลุ่มนี้ก็คือ ต้องพยายามสังเกตตัวเองว่าอะไรเป็นสาเหตุหรือเป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดการปวดศีรษะ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาคนไข้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยปัจจัยที่พบบ่อยก็เช่น เรื่องของอารมณ์, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, การทำงานที่เครียดหรือหักโหมจนเกินไปปัญหาเศรษฐกิจครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัว ซึ่งคนไข้บางรายสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์เลยครับ

          แต่ความน่ากลัวของอาการปวดศีรษะก็คือ การที่มีโรคร้ายแอบแฝงอยู่ นั่นก็คือในคนไข้กลุ่มที่ 2 ที่มีรอยโรคอยู่ในสมองและศีรษะ ซึ่งพบได้ประมาณ 20% ของคนไข้ปวดศีรษะทั้งหมด

         ดังนั้นการซักประวัติและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างละเอียดแก่แพทย์ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยและรักษา หากพบว่าคนไข้มีลักษณะอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาช่วย เช่น ถ้าสงสัยว่ามีภาวะเลือดคั่งในสมองหรือเส้นเลือดในสมองแตก แพทย์จะใช้การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT-64 Slices), ถ้าสงสัยหลอดเลือดขอดในสมอง และเนื้องอกในสมอง อาจต้องทำการตรวจด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อดูอย่างละเอียดทั้งในส่วนของสมองและหลอดเลือด ถ้าสงสัยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือมีเลือดออกซึมในชั้นเยื่อหุ้มสมอง อาจต้องมีการเจาะตรวจน้ำไขสันหลังทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียด ร่วมกับการตรวจ CT-Scan หรือ MRI-Scan

          การตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดดังที่กล่าวมาทั้งหมด ก็เพื่อให้คนไข้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที ถูกต้อง และเหมาะสมกับโรคและอาการที่เป็นอยู่ แต่เหนือสิ่งอื่นใด คนไข้จะต้องรู้จักตัวเองและรู้จักภาวะโรคที่ตนเองเผชิญอยู่ด้วย เพราะถ้าหวังพึ่งแต่แพทย์เพียงอย่างเดียว เชื่อว่าการรักษาคงไม่ประสพผลสำเร็จเท่าที่ควรครับ

          การดูแลสุขภาพตัวเอง เช่น การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เหมาะสำหรับคนทุกวัยและทุกโรค เพราะมันช่วยให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยให้หลอดเลือดเสื่อมช้าลง อีกทั้งยังทำให้หลับสบาย จิตใจผ่อนคลายขึ้น การศึกษาธรรมะ การมีสติ มีสมาธิ สนใจพิจารณาแก้ไขปัญหาด้วยปัญญาและประสบการณ์หรือปรึกษานักจิตวิทยา จิตแพทย์ แพทย์ระบบประสาทและสมองก็เป็นหลายๆ ทางเลือกที่ควรเลือกใช้ เลือกปฏิบัติ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อาการปวดศีรษะไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็สามารถจะบรรเทาและลดน้อยลงไปได้เอง หรือปรับปรุงแก้ไขรักษา

 

 

          ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง โดย นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์

          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/23601-ปวดหัว%20อย่าชะล่าใจ%20(ตอน%202).html