Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 8 เม.ย. 2557

เอกสารแนบ

ย ประเภท และการดูแลเบื้องต้นกันไปแล้ว คำถามที่ได้รับส่วนใหญ่เกี่ยวกับภาวะสมาธิสั้นคือ จะมีวิธีการดูแลในรูปแบบอื่นอีกหรือไม่นอกจากการกินยา คำตอบก็คือ มีค่ะ

          ถึงแม้ว่างานวิจัยที่เกี่ยวกับการบำบัดเด็กสมาธิสั้นในช่วง 10 กว่าปีมานี้ จะเฉพาะเจาะจงไปที่ประสิทธิภาพยาต่าง ๆ แต่สุดท้าย คำแนะนำก็มักจะชี้ลงไปที่ว่า ยาบางชนิดจะช่วยทำให้พฤติกรรมที่เป็นปัญหาลดน้อยลงในระยะเวลาแรกเท่านั้น ไม่ได้ต่อเนื่องยาวนานอย่างที่เคยคิดกันไว้แต่แรก รวมถึงมักจะแนะนำให้เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นได้รับการบำบัดแบบผสมผสานในรูปแบบอื่น ๆ

          ในขณะเดียวกัน งานวิจัยในช่วงหลัง ไม่ว่าจะเป็นจากวารสารกุมารแพทย์อเมริกัน หรือวารสารทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่แสดงว่า ทางเลือกของเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่ที่การกินยาแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ทางสถาบันจิตเวชแห่งชาติของอเมริกันได้แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในภาวะสมาธิสั้น (ทั้งที่ได้รับการวินิจฉัย) กับเด็กที่มีลักษณะซุกซนอยู่ไม่นิ่งตลอดเวลาหรือไฮเปอร์ ลองศึกษาหาทางเลือก อื่น ๆ ควบคู่ไปอีกด้วยค่ะ

          สถาบันจิตเวชแห่งชาติของอเมริกายังได้ให้คำแนะนำไว้ด้วยว่า ในขณะที่การบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นบำบัด การบำบัดด้วยการปรับรูปแบบความคิด จิตบำบัด รวมถึงการปรับสมดุลด้วยการรับประทานอาหาร จะเป็นการบำบัดที่น่าสนใจและแพร่หลายมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่ปรากฏว่า วิธีการบำบัดที่ได้ผลดีที่สุดคือการบำบัดพฤติกรรมนั่นเองค่ะ

/data/content/23733/cms/alnoqstuwz18.jpg

          วิธีการบำบัดพฤติกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้นนั้น สามารถทำได้

         โดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็น จิตแพทย์ กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพฤติกรรม หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรม ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วจะใช้วิธีการที่เรียกว่า 'การเสริมแรง' โดยเฉพาะการเสริมแรงในแง่บวก เช่น การให้รางวัลเพื่อที่จะให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีเพิ่มมากขึ้น ในบางกรณีอาจใช้วิธีการ อย่างการเพิ่มหรือลดจำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้เชี่ยวชาญจะต้องได้รับข้อมูลจากพ่อแม่ผู้ปกครองถึงกิจวัตรประจำวัน พฤติกรรมที่เป็นปัญหา แล้วจึงให้วิธีแก้ไขที่สามารถทำได้ การบำบัดพฤติกรรมนั้น นอกจากเรื่องตัวพฤติกรรมที่จะต้องได้รับการปรับแก้ไขแล้ว ยังต้องมีการปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดสิ่งล่อตาล่อใจด้วย

          จุดประสงค์ของการปรับพฤติกรรมคือ ให้เด็กแสดงพฤติกรรมดีมากขึ้นรวมถึงให้พฤติกรรมดีไปแทนที่พฤติกรรมที่ไม่ดี คือในสถานการณ์ต่าง ๆ เด็กจะต้องตอบสนองโดยใช้พฤติกรรมที่ดีและถูกต้องเพื่อเรียกร้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยใช้ตัวช่วยเป็นการเสริมแรงในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นของรางวัลหรือแม้แต่การทำโทษก็ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย แต่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นสิ่งของหรือกิจกรรมที่เด็กชอบทำก็ได้เช่นเดียวกันค่ะ

          สำหรับการบำบัดภาวะสมาธิสั้นด้วยการใช้ยานั้น สิ่งที่กุมารแพทย์หลายท่านกังวลใจก็คือ การที่พ่อแม่มักจะหวังพึ่งประสิทธิภาพของยาแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเรื่องนี้ กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพฤติกรรมจาก มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ของสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งในสัมมนาระดับชาติว่า สิ่งที่สำคัญในการดูแลเด็กสมาธิสั้นไม่ใช่ยา เพราะยาไม่สามารถช่วยในสิ่งที่เด็กสมาธิสั้นมักจะมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความภูมิใจในตัวเอง ความเข้าใจตัวเอง การจัดการเรื่องเวลา และการจัดระเบียบในชีวิต พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงมักจะอ้างว่าตนเองไม่มีเวลา และคิดว่ากินยาก็น่าจะทำให้ลูกอยู่นิ่งแล้ว รวมทั้งคิดไปเองด้วยว่า การที่ลูกอยู่นิ่งคือการที่ลูกจะมีสมาธิตั้งใจเรียน ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการที่ลูกอยู่นิ่ง ไม่ได้หมายความว่าลูกจะใจจดจ่อหรือมีสมาธิ เพราะถึงตอนนี้ก็ยังไม่มียาวิเศษที่จะช่วยให้กินแล้วเด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ทันที ที่มีก็คือช่วยลดอาการไม่อยู่นิ่งให้ดีขึ้น ดังนั้นการดูแลจึงไม่ได้ผล

          ในการประชุมจิตแพทย์ด้านเด็กและวัยรุ่นของอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมา ศาสตราจารย์จิตแพทย์เด็กจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ได้กล่าวไว้ว่า การดูแลเมื่อลูกหรือคนใกล้ชิดมีภาวะสมาธิสั้นก็เหมือนกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพราะเมื่อเป็นโรคเบาหวาน การกินยาก็เป็นเรื่องจำเป็น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด และเพื่อให้ได้ผลดีมากขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องระมัดระวังอาหารที่กิน รวมถึงออกกำลังกายเพิ่มเติมจากการกินยา สำหรับเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นแล้ว การกินยาไม่ได้ช่วยให้เด็กทำการบ้าน ไม่ได้ช่วยให้เด็กไม่ลืมทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ช่วยให้เด็กเข้ากับเพื่อนได้ ซึ่งเท่ากับมีสังคมที่เพื่อนอยากเล่นด้วย แต่การบำบัดด้วยพฤติกรรมต่างหาก จึงจะตอบโจทย์เหล่านี้ทั้งหมด

 

 

          ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดย อ.ดร.ปรียาสิริ มานะสันต์ โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/23733-ทางเลือกของ%20%60เด็กสมาธิสั้น%60.html