Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 9 ต.ค. 2557

เอกสารแนบ

          ที่พบบ่อยคือโรคของหลอดเลือดเสื่อม เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้ถึงแก่กรรม โรคของหลอดเลือดสมองตีบตัน ทำให้เกิดความพิการ เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ และโรคสมองเสื่อม การเสื่อมของหลอดเลือด สามารถป้องกันเพื่อชะลอการเสื่อมได้ การจะให้มีสุขภาพกายแข็งแรงจะต้องปฏิบัติดังนี้

          2.1 การออกกำลังกาย

          การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆ ทำให้หลับสบาย เจริญอาหาร ดูอ่อนกว่าวัย อายุยืน ควรจะต้องทำตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ทำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละประมาณ 30 นาทีอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากรู้สึกเหนื่อยให้พักสักครู่ แล้วหลังจากหายเหนื่อยก็ให้ดำเนินการต่อ

          คนส่วนใหญ่ทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่คนส่วนใหญ่มักจะขี้เกียจออกกำลังกายบอกว่าไม่มีเวลา ให้เอาเวลาที่ดูทีวีออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ขอให้ระลึกตลอดเวลาว่าการออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องปฏิบัติเพื่อสุขภาพกายที่ดี

          2.2 การรับประทานอาหาร

          การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารทุกหมู่เหล่า รับประทานเป็นเวลา วันละ 3 มื้อ ไม่ทานจุบจิบ จำนวนอาหารที่ทานมากน้อยอยู่ที่น้ำหนักตัว คือควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน น้ำหนักตัวมาตรฐานของเพศชาย คำนวณจากความสูงของผู้นั้นเป็นเซนติเมตร ลบด้วย 100 ผลลัพธ์ที่ได้เป็นน้ำหนักมาตรฐานของผู้นั้นเป็นกิโลกรัม สำหรับผู้หญิงลบด้วย 105 ตัวอย่างผู้ชายสูง 170 ชม. น้ำหนักมาตรฐานคือ 170-100 = 70 กิโลกรัม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด ไขมันสูง รับประทานอาหารประเภทผัก ปลา ผลไม้ ให้มาก

          2.3 การพักผ่อนนอนหลับ

          การทำงานต้องไม่หนักมากเกินไป มีเวลาพักผ่อนออกกำลังกาย การนอนหลับต้องนอนหลับให้เพียงพอ เฉลี่ยคืนละ 7-8 ชม. ต้องพยายามฝึกเข้านอนให้เป็นเวลา ห้องนอนต้องเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน อากาศเย็นสบาย ไม่มีแสงสว่างมาก ไม่ควรดื่มน้ำ ชา กาแฟ เวลาเย็นหรือเวลากลางคืน ถ้าหากนอนไม่หลับเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ การนอนหลับพักผ่อนเป็นการซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอที่ใช้มาตลอดวัน สร้างภูมิคุ้มกัน การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ทำให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส สมองปลอดโปร่ง

          2.4 หลีกเลี่ยงเที่ยวกลางคืน สารเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่

          2.5 ตรวจสุขภาพ ปีละ 1 ครั้ง สำหรับผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง เป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด

          2.6 มีสุขภาพจิตที่ดี ผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี เครียดเรื้อรัง เป็นบ่อเกิดของโรคทางกายต่างๆ มากมาย

          3.การจะเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณค่า

          ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมควรเอาเวลาว่างที่เหลืออยู่ ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้มีฐานะยากจน ผู้พิการทางกายและทางจิต สังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความเหลื่อมล้ำในสังคมถ้ามีมากระหว่างผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่มีโอกาส สังคมนั้นจะไม่มีความสงบสุขเกิดความแตกแยก และจะล่มสลายในที่สุด โดยเฉพาะประเทศไทยเราผู้ด้อยโอกาสและผู้มีฐานะยากจนมีจำนวนมาก

 ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง โดย  น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ข้อมูลจาก น.พ.ปรีชา ศตวรรษธำรง อดีตผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รองประธานมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

 

 

 

 

 

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/26045-