Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ธนิกุล ศรีอุทิศ 17 พ.ค. 2556

เอกสารแนบ

 

การสูบบุหรี่ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทย  โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่อัตราการสูบบุหรี่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่มักเริ่มต้นในช่วงที่เป็นวัยรุ่น วัยรุ่นที่เริ่มต้นสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ติดบุหรี่สูงและมีโอกาสเลิกสูบบุหรี่ได้ยาก  

จากการศึกษาวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นไทย สรุปได้ว่าการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่มีความซับซ้อนซึ่งมีพัฒนาการผ่านไปตามลำดับขั้นต่างๆ  โดยสามารถแบ่งการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นออกได้เป็น 4 กลุ่มตามลำดับขั้นการสูบบุหรี่  คือ 1) กลุ่มมั่นใจว่าจะไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่และมั่นใจว่าตนจะไม่สูบบุหรี่แน่นอนถึงแม้จะถูกชักชวนก็ตาม  2) กลุ่มลังเลใจ  ได้แก่ผู้ไม่เคยสูบบุหรี่แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถปฏิเสธการสูบบุหรี่ได้หากถูกชักชวน   3) กลุ่มทดลองสูบบุหรี่  ได้แก่ผู้ที่เคยทดลองสูบบุหรี่เพียงไม่กี่มวนเท่านั่นในชีวิต  4) กลุ่มสูบตามโอกาส  ได้แก่ ผู้ที่สูบเป็นครั้งคราวตามโอกาสต่างๆเช่น เมื่อมีงานเลี้ยงฉลอง  ไปเที่ยว และ 5) กลุ่มสูบประจำ ได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่อย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์หรือเกือบทุกวัน โดยมีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของวัยรุ่นเท่านั้นที่มั่นใจว่าตนจะไม่สูบบุหรี่แน่นอน  ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในกลุ่มต่างๆซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะสูบและและได้สูบบุหรี่แล้ว

นอกจากนี้ข้อค้นพบที่สำคัญคือ พบว่าปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่มีหลายปัจจัยทั้งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกัน ได้แก่ เพศ  ผลสัมฤทธ์ทางการเรียน ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ของเพื่อน การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่  ความผูกพันกับครอบครัวและโรงเรียน  โดยปัจจัยต่างๆดังกล่าวมีบทบาทไม่เหมือนกันเมื่ออยู่ในลำดับขั้นการสูบบุหรี่ที่แตกต่างกัน  แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญที่สุดเนื่องจากพบได้ในทุกลำดับขั้นของการสูบบุหรี่คือทัศนคติต่อการสูบบุหรี่และการถูกชักชวนให้สูบบุหรี่

ในการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นให้มีประสิทธิภาพจึงควรเน้นการป้องกันตั้งแต่ในระยะแรกๆของการสูบบุหรี่ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นสูบบุหรี่  โปรแกรมที่สร้างขึ้นควรมีความหลากหลายและมีความเฉพาะเจาะจงกับปัจจัยที่พบในแต่ละลำดับขั้นของการสูบบุหรี่ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในวัยรุ่นแต่ละคน  โดยให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการสูบบุหรี่รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของวัยรุ่นให้มีทักษะการปฏิเสธ

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/situations/34418