Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 7 พ.ค. 2557

เอกสารแนบ

/data/content/24160/cms/e_agmnpqsx2578.jpg

          สำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร แนะนำประชาชนในการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดแผ่นดินไหว "หลบใต้โต๊ะ-อยู่ที่โล่ง-มีสติ-อย่าแพร่ข่าวลือ"

          สำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร แนะนำประชาชนในการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ว่า 1. ให้หมอบลงกับพื้น 2. หลีกเลี่ยงบริเวณใกล้หน้าต่าง หรือที่ที่มีอะไรแขวนไว้ตามฝาผนัง และหลบใต้โต๊ะหรือมุมห้อง 3. ป้องกันตนเองโดยใช้แขนปกป้องศีรษะและคอรอจนความสั่นไหวยุติลง หรือปลอดภัยแล้วจึงออกไปสู่จุดที่ปลอดภัย 4. ตั้งสติและอย่าให้คนในครอบครัวตื่นตระหนก 5. อยู่ห่างจากบริเวณที่มีวัตถุหล่นใส่ ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากป้ายโฆษณา เสาไฟ อาคาร และต้นไม้ใหญ่ 6. ระวังเศษอิฐ กระจกแตก และชิ้นส่วนอาคารหล่นใส่

          สำหรับผู้ที่อยู่ในอาคารสูง 1. ถ้าอาคารมั่นคงแข็งแรง ให้อยู่ในอาคารนั้น 2. ถ้าอาคารเก่าและไม่มั่นคง ให้รีบออกจากอาคารนั้นให้เร็วที่สุด 3. หลังการสั่นสะเทือนสิ้นสุด ให้รีบออกจากอาคาร 4. ถ้าไม่อยู่ใกล้ทางออก ให้ หมอบ ป้อง เกาะ จนกว่าจะมีผู้เข้าไปช่วยเหลือ 5. ถ้าอยู่ใกล้ทางออก ให้ออกจากอาคารโดยเร็ว อย่าแย่งกันจนเกิดความชุลมุน 6. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด

          หลังจากเกิดแผ่นดินไหว 1. ปฐมพยาบาลขั้นต้นผู้ได้รับบาดเจ็บก่อน 2. รีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที 3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ ป้องกันเศษแก้ว วัสดุแหลมคม และสิ่งหักพังแทง 4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาวล์ถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟ

          5. ตรวจสอบแก๊สรั่วด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นแก๊สให้รีบเปิดประตูหน้าต่างทุกบาน 6. ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด หรือสายไฟพาดถึง 7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน ใช้โทรศัพท์เมื่อจำเป็นจริงๆ 8. สำรวจความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้ 9. อย่าเป็นไทยมุงเข้าไปในเขตที่เสียหาย หรือปรักหักพัง 10. อย่าแพร่ข่าวลือ

 

 

          ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/24160-แนะนำประชาชน เตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว.html