Angthong Hospital

  • 035 615 111
  • 035 612 151

ประกาศ, ประชาสัมพันธ์, รายงานและบทความ

ณัฐธภัสสร รัศมีสุขสรร 15 พ.ค. 2557

เอกสารแนบ

/data/content/24255/cms/e_eflmnpqt1578.jpg

          กรมการแพทย์แนะช่วงเข้าฤดูฝน ควรระวังสัตว์ที่มีพิษชนิดต่างๆ โดยเฉพาะงู ที่อาศัยอยู่ตามสภาพแวดล้อมใกล้ตัว สำหรับงูพิษที่มีความสำคัญทางการแพทย์เพราะมีคนถูกกัดอยู่บ่อยๆ มี 7 ชนิด ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา งูพิษกัดจะมีรอยเขี้ยว 1-2 แผลเสมอ มีเลือดออกซึมๆ แต่ถ้าไม่พบรอยเขี้ยวแสดงว่าไม่ใช่งูพิษ    

          นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โดยทั่วไปจำแนกพิษของงูได้เป็น 4 ประเภท 1.พิษต่อระบบประสาท ได้แก่ พิษของงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก เสียชีวิตได้ 2.พิษต่อโลหิต ได้แก่ พิษของงูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ทำให้มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด 3.พิษต่อกล้ามเนื้อ ได้แก่ พิษงูทะเล ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลาย และ 4.พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่พิษงูเห่า งูจงอาง ทำให้ลืมตาไม่ขึ้น น้ำลายมากกลืนลำบาก เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ

          นพ.สุพรรณ กล่าวว่า การป้องกันงูกัด ต้องหลีกเลี่ยงการเดินในที่แคบหรือบริเวณที่รกมีหญ้าสูง ถ้าจำเป็นต้องเดินผ่านควรใส่รองเท้าหุ้มข้อเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว เตรียมไฟฉายและไม้ หากถูกงูกัดควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยการล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน หรือสิ่งอื่นๆ ทาแผล ไม่ควรใช้ปากดูดเลือด ไม่ควรใช้ผ้าหรือเชือกรัดเหนือบริเวณที่ถูกกัดแน่นเกินไป   หากจะรัดควรรัดให้แน่นพอที่สามารถสอดนิ้วมือเข้าใต้วัสดุที่ใช้รัดได้ 1 นิ้วมือ รัดทั้งเหนือและใต้แผลประมาณ 3 นิ้วมือ และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

         

 

          ที่มา : เว็บไซด์กระทรวงสาธารณสุข

            ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง: http://www.thaihealth.or.th/Content/24255-แนะวิธีป้องกันงูกัดหน้าฝน%20.html